วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติความเป็นมาของหวยและสลากกินแบ่งรัฐบาล

ต้นกำเนิดของ “หวย


                คนไทยรับวัฒนธรรมการ "ออกหวย" และ "เล่นหวย" มาจากเมืองจีน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจีนระบุว่า การพนันทายตัวเลขหรือตัวหนังสือนี้มีขึ้นครั้งแรกในสมัยพระเจ้าเตากวาง แห่งราชวงศ์ไต้เช็ง ประมาณ พ.ศ.2364 - 2394  การพนันทายตัวเลขหรือตัวหนังสือของจีน เรียกว่า ฮวยหวย” แปลว่า “ ชุมนุมดอกไม้ ” เหตุที่มีความหมายเช่นนี้ เพราะในตอนแรกเขียนตัวหวยเป็นรูปดอกไม้ ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็นชื่อชาวจีนผู้มีชื่อเสียงในสมัยโบราณ โดยทำป้ายเล็ก ๆ จำนวน 34 ป้าย เขียนชื่อคนโบราณเป็นภาษาจีนลงป้ายละชื่อ เช่น  สามหวย ง่วยโป๊ เป็นต้น จากนั้นเจ้ามือจะเลือกป้ายชื่อคนเหล่านั้นหนึ่งอันใส่ในกระบอกไม้  ปิดปากกระบอกแขวนไว้กับหลังคาโรงหวย ให้คนทายว่าจะเป็นชื่อผู้ใดใน 34 ชื่อนั้น  ต่อมาได้เพิ่มชื่อขึ้นอีก 2 ชื่อ  รวมเป็นตัวหวย 36  ตัว เมื่อ “ฮวยหวยแพร่หลายมาถึงบ้านเราคนไทยก็พากันเรียกว่า หวย” จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

พ.ศ.2374 - 2375 กำเนิด "หวย" ครั้งแรกในไทย

               กล่าวกันว่าหวยเข้ามาในประเทศไทยพร้อมกับชาวจีนอพยพกลุ่มหนึ่งในราวพ.ศ.2360  ในระยะแรกๆ นิยมเล่นกันเฉพาะในหมู่ชาวจีนอพยพเท่านั้น จนกระทั่ง พ.ศ.2374 - 2375 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เกิดข้าวยากหมากแพง เพราะปีหนึ่งน้ำมากแต่อีกปีหนึ่งเกิดฝนแล้ง  จึงทำให้ข้าวขาดตลาดและมีราคาแพง เงินตราที่หมุนเวียนก็หดหายไป  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเข้าพระทัยว่า คงเป็นเพราะมีผู้นำเงินตราไปซื้อฝิ่นมาเก็บไว้ขาย  พระองค์จึงโปรดให้เอาฝิ่นมาเผาเสียมาก แต่เงินก็ยังคงหายไปจากตลาดอยู่ ช่วงนั้นเอง เจ้าสัวผู้หนึ่งซึ่งเป็นนายอากรสุราชื่อว่า "จีนหง" ได้เข้าเฝ้ากราบทูลว่า สาเหตุที่เงินหายไปนั้นเพราะราษฎรนำไปใส่ไหฝังดินไว้ ถ้าจะเรียกเงินขึ้นมา ต้องออกหวยให้คนเล่นเหมือนเมืองจีน รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นพ้องกับความคิดของเจ้าสัวจีนหง  จึงโปรดให้จีนหงออกหวยขึ้นครั้งแรก เมื่อเดือนยี่ ปีมะแม พ.ศ. 2375 โดยผู้ที่ได้รับสัมปทานเป็นนายอากรหวยจะได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนบาลเบิกบุรีรัตน์" หรือคนทั่วไปเรียก ขุนบาล” ซึ่งเป็นผู้อำนวยการออกหวยทุกวัน ดังนั้น เจ้าสัวจีนหง นอกจากจะเป็นนายอากรสุราแล้ว ยังเป็นนายอากรหวย มีตำแหน่งเป็นขุนบาลหารายได้ให้รัฐบาลอีกด้านหนึ่งด้วย โดยรายได้จากอากรหวยมีจำนวนมากและได้กลายเป็นรายได้ที่สำคัญของรัฐ
                ในช่วงแรก การออกหวยตามแนวคิดของเจ้าสัวจีนหง จะออกหวยวันละครั้งในตอนเช้า วิธีการออกหวยให้คนไทยเล่น ได้ปรับเปลี่ยนจากแผ่นป้ายรูปคนและเขียนชื่อชาวจีนและอักษรจีนมาเป็นอักษรไทย แล้วตามด้วยชื่อคนจีนโบราณที่เขียนด้วยตัวอักษรไทย เช่น ก. สามหวย  ข. ง่วยโป๊ เป็นต้น ทั้งนี้เป็นเพราะคนไทยอ่านหนังสือจีนไม่ออก อักษรไทยที่ใช้เริ่มจาก ก ข ฃ ค ฅ เรื่อยไปตามลำดับ อักษรไทยที่ใช้เขียนออกหวยมี 34 ตัว ตัดอักษรทิ้ง 8 ตัว คือ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ศ ษ ด้วยเหตุที่เขียนอักษรไทยในแผ่นป้ายนี่เองจึงเป็นที่มาของ "หวย ก. ข."

หวย ก. ข.
                วิธีเล่นหวย ก. ข. นั้นไม่ยุ่งยาก ผู้แทงหวยจะต้องไปซื้อหวยจากเสมียนที่ตั้งขายอยู่ตามมุมถนนต่างๆ เมื่อซื้อแล้วเสมียนจะออกใบเสร็จรับเงินของโรงหวย โดยมีข้อความเกี่ยวกับตัวอักษรหรือ ตัวเลขที่แทง วันเดือนปี และเวลาที่ออกหวย จำนวนเงินที่แทง รวมทั้งรางวัลที่จะได้รับ โดยข้อความเหล่านี้จะเขียนเหมือนกันทั้งต้นขั้วและปลายขั้ว เรียกว่า  โพย”  ผู้ซื้อถือปลายขั้วไว้ ผู้ขายจะนำต้นขั้วมาส่งให้ขุนบาลก่อนกำหนดออก เพื่อตรวจโพยก่อนว่าตัวไหนใครแทงมากน้อยเท่าใด ออกแล้วจะขาดทุนหรือกำไรเท่าใด จากนั้นจึงนำตัวหวยที่คิดแล้วนี้ใส่ถุงชักรอกแขวนให้ประชาชนดูว่า หวยออกตัวนี้ ผู้แทงถูกจะได้รางวัล 30 ต่อรวมทั้งทุน ส่วนเสมียนก็ชักเปอร์เซ็นต์ 1 ต่อ
                ในสมัยรัชกาลที่ 3 โรงหวยตั้งอยู่ใกล้สะพานหัน แล้วย้ายมาอยู่ที่หน้าวังบูรพาภิรมย์ แต่เดิมออกหวยตอนเช้าวันละครั้ง ต่อมาพระศรีวิโรจน์ได้กราบทูลขอตั้งขึ้นอีก 1 โรง อยู่ที่บางลำพู ออกหวยตอนหัวค่ำ วันละครั้ง ในสมัยนั้นจึงมีหวย 2 โรง เรียกว่า โรงเช้าและโรงค่ำ          
                ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  มีผู้ขอผูกอากรหวยออกไปตั้งที่เพชรบุรีและอยุธยา แต่เล่นอยู่ไม่นาน พระองค์จึงโปรดให้เลิกหวยทั้งสองแห่งเสีย เนื่องจากทรงเห็นว่าราษฎรยากจนลงกว่าเดิม

พ.ศ. 2417 กำเนิด "ลอตเตอรี่" หรือ "สลากกินแบ่งรัฐบาล" ครั้งแรกในไทย

                ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ทรงมีพระราชดำริจะเลิกอากรหวย แต่ก็ทรงเกรงว่าจะหารายได้แผ่นดินมาชดเชยไม่ทัน จึงเพียงแต่ผ่อนลดลดจำนวนโรงหวยและเบี้ยให้มีน้อยลงตามลำดับ
                ต่อมาได้มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีชาวอังกฤษชื่อ "ครูอาล บาสเตอร์" เป็นผู้นำลักษณะการออกรางวัลสลากแบบยุโรปมาเผยแพร่เป็นคนแรก โดยเรียกว่าลอตเตอรี่” โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กรมทหารมหาดเล็กออกลอตเตอรี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2417 เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระองค์ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเหลือพ่อค้าต่างชาติที่นำสินค้ามาร่วมแสดงในการจัดพิพิธภัณฑ์ที่ตึกคองคาเดีย ในพระบรมมหาราชวัง และได้มีการออกลอตเตอรี่ในวาระพิเศษอีกหลายครั้ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อบำรุงสาธารณกุศล

พ.ศ. 2459 - 2460 สิ้นสุดหวย ก.ข.

                ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลิกบ่อนหวย ก.ข. สำเร็จ ประกาศเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2459 แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้คนแอบเล่นหวยเบอร์กันจนถึงปัจจุบัน โดยอาศัยเลขท้ายรางวัลของสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นตัวจ่ายรางวัลในการเล่นผิดกฎหมายนี้
                หลังจากประกาศเลิกหวย ก.ข. แล้วในปี พ.ศ. 2460 ซึ่งเป็นช่วงที่อยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่1 สหราชอาณาจักรอังกฤษซึ่งเป็นประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรประสงค์จะกู้เงินจากประเทศไทยเพื่อใช้ในการสงคราม แต่ไม่อาจกู้โดยตรงจากรัฐบาลไทยได้ เพราะเป็นการกระทบกระเทือนงบประมาณ สภารักชาติแห่งประเทศอังกฤษ จึงดำเนินนโยบายกู้เงินจากประชาชนด้วยการออกลอตเตอรี่ โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พ.ศ.2466 การออกลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท

ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท
                ต่อมาในปี พ.ศ.2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ออก ลอตเตอรี่เสือป่าล้านบาท” เพื่อหารายได้บำรุงกองเสือป่าอาสาสมัคร ซึ่งพิมพ์จำนวน1 ล้านฉบับ จำหน่ายฉบับละ 1 บาท ซึ่งวิธีการออกสลากในสมัยนั้นเพียงแค่นำเลขที่ออกรางวัลบรรจุกล่องทึบแล้วใส่ลงในไห ตั้งเรียงตามลำดับจากหลักหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ก่อนออกรางวัลกรรมการจะจับสลากเพื่อทราบว่าครั้งนี้จะออกรางวัลที่เท่าใด แล้วจึงให้กรรมการล้วงตลับบรรจุเลขหมายออกมาเปิดต่อหน้ากรรมการและประชาชนจนครบทุกรางวัลเป็นอันเสร็จการออกรางวัลสลากนั้น

พ.ศ. 2476 การออกลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม

ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม
                ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.2476 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7  รัฐบาลมีนโยบายที่จะลดเงินรัชชูปการ (เงินที่เรียกเก็บจากชายไทยที่มิต้องรับราชการทหาร) ทำให้รัฐขาดรายได้ จึงได้ดำริให้มีการออกลอตเตอรี่รัฐบาลเป็นประจำขึ้นโดยเรียกว่า ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม” โดยพิมพ์ออกจำหน่ายจำนวน 1 ล้านฉบับ ฉบับละ 1 บาท ปีละ 4 งวด

พ.ศ. 2477 - 2479 การออกสลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล

                ต่อมาในปีพ.ศ. 2477 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทยออก สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล” โดยกำหนดว่า หากเดือนใดเป็นเดือนที่ออกสลากกินแบ่งรัฐบาล เดือนนั้นให้งดจำหน่ายสลากกินแบ่งของเทศบาล โดยเริ่มจำหน่ายงวดแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2478 แล้วออกสลากเดือนเมษายน พ.ศ. 2479 โดยพิมพ์จำนวน 500,000 ฉบับๆ ละ 1 บาท และได้มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงเทศบาลเรื่อยมา
 
สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล

พ.ศ. 2482 สถาปนาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

                ในปี พ.ศ. 2482 ถือเป็นยุคที่สลากกินแบ่งรัฐบาลเริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้โอนกิจการสลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากบำรุงเทศบาล มาสังกัดกระทรวงการคลัง และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลขึ้น โดยมีพระยาพรหมทัตศรีพิลาสเป็นประธานกรรมการ เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2482 ในวันดังกล่าวจึงถือเป็นวันสถาปนาสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจนปัจจุบัน และการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้มีการออกพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลขึ้น กำหนดให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นนิติบุคคล และเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง

พ.ศ. 2538

                เมื่อต้นปี พ.ศ. 2538 สลากกินแบ่งรัฐบาลและสลากการกุศลถูกรวมเข้าด้วยกันออกด้วยกันเดือนละ 2 ครั้ง  รายได้สุทธิที่ได้รับถูกจัดสรรให้แก่หน่วยงานต่างๆ ตามจุดประสงค์ของการออกสลาก นอกจากนี้ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลยังได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้คนไทยหันมาซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วยข้อความที่ว่า  วันนี้ ส่วนหนึ่งของการออกรางวัลทุกวงล้อที่หมุน คือ คุณภาพชีวิตที่คืนสู่สังคมไทย” และภาพโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์เป็นภาพคนพิการ เด็กด้อยโอกาส และคนชรา การประชาสัมพันธ์เชิญชวนเช่นนี้จึงมีอิทธิพลโน้มน้าวใจให้คนไทยผู้มีจิตกุศลได้ช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่งด้วย
                อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีช่องทางเสี่ยงโชคโดยซื้อสลากของรัฐ แต่เนื่องจากสลากกินแบ่งฯ มีราคาแพง อีกทั้งไม่สามารถเลือกแทงเลขได้ตามความต้องการ จึงมีกลุ่มพ่อค้าแม่ค้ารับเป็นเจ้ามือแทงหวยเสียเอง โดยอิงเลขท้ายของผลการออกสลากของรัฐเดือนละ 2 งวด หวยประเภทนี้รู้จักกันดีเรียกว่า หวยใต้ดิน” การเล่นหวยใต้ดินสร้างรายได้มากมายให้เจ้ามือ แต่เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย จึงต้องมีผู้คุ้มครองซึ่งเป็นใครไปไม่ได้นอกจากคนของรัฐที่ใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ เมื่อมีการแบ่งสรรผลประโยชน์ร่วมกัน จึงเป็นต้นตอของการสร้างเครือข่ายของผู้มีอิทธิพลในชุมชนที่อาจขยายผลไปสู่ธุรกิจผิดกฎหมายอื่นๆ อีกหลายประเภท

พ.ศ. 2546 กำเนิดโครงการ"สลากพิเศษแบบเลขท้าย ตัว และ ตัว" หรือ " หวยบนดิน"

               สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีนโยบายสำคัญในการปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยเฉพาะเจ้ามือหวยใต้ดิน แต่ปัญหาหลักคือประชาชนส่วนใหญ่นิยมแทงหวยใต้ดินกันมาก จึงมีการคิดวิธีการทำให้หวยใต้ดินเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย โดยรัฐบาลเป็นเจ้ามือรับแทงหวยเสียเอง โครงการจำหน่าย "สลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว" หรือ "หวยบนดิน" จึงเกิดขึ้น ตามมติครม. วันที่ ก.ค. 2546 โดยให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำหน่ายตั้งแต่งวดวันที่ ส.ค. 2546 ถึงงวดวันที่ 16 พ.ย. 2549 รวม 80 งวด
ประเภทของสลาก ออกแบ่งเป็น
- สลากชนิดราคา 20 บาท พิมพ์ด้วยสีเขียวเหมือนสีของธนบัตร 20 บาท
- สลากชนิดราคา 50 บาท พิมพ์ด้วยสีฟ้าเหมือนสีของธนบัตร 50 บาท
- สลากชนิดราคา 100 บาท พิมพ์ด้วยสีแดงเหมือนสีของธนบัตร 100 บาท

สลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว และ 2 ตัว

พ.ศ. 2549 สิ้นสุดหวยบนดิน

                หลังการยึดอำนาจรัฐบาลโดยคณะมนตรีเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) รัฐบาลชั่วคราวของพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ประกาศยกเลิกหวยบนดิน เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เนื่องจากเห็นว่า การออกหวยบนดินเป็นการทำผิดกฏหมายสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล น่าจะเข้าข่าย พ.ร.บ.การพนันมากกว่า โดยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2552 ศาลได้ตัดสินคดีหวยบนดินโดยองค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า มติ ครม.ในการอนุมัติให้ดำเนินการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ตัว และ ตัว (หวยบนดิน) ฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้เกิดความเสียหายแก่สำนักงานสลากกินแบ่งฯ ตามพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา และมาตรา นอกจากนี้องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากว่า กรณีที่คณะรัฐมนตรี และคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ให้นำรายได้ในการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย ตัว และ ตัว (หวยบนดิน) คืนสู่สังคมนั้น ถือเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 มาตรา และ มาตรา 13และพระราชบัญญัติสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล พ.ศ.2517 มาตรา 23 และ มาตรา 27 ด้วย